เรื่องของพลังงาน

 


ตอน พลังงานเกิดขึ้นได้อย่างไร

     

หากคุณผู้อ่านที่ได้ติดตาม "เส้นทางสู่พลังงานสีเขียว" ตอนที่ผ่านมา คงจะได้ทราบคำตอบแล้วว่า "พลังงานมาจากไหน" พลังงานมาจากดวงอาทิตย์นั่นเอง เราได้มีการกล่าวถึงกันไปบ้างเล็กน้อยแล้วว่า ดวงอาทิตย์ผลิตพลังงานขึ้นมาอย่างไร แต่จะด้วยวิธีไหน มีขั้นตอนใดบ้าง ต้องติดตามกันต่อไปในฉบับนี้... ทำไมดวงอาทิตย์ขนาดมหึมา จึงสามารถผลิตพลังงานได้มากมายมหาศาล แล้วใช้กระบวนการอะไรในการผลิตพลังงาน

พลังงานเกิดขึ้นได้อย่างไร

ดวงอาทิตย์ทรงกลมขนาดใหญ่นี้ เกิดขึ้นเมื่อราว 5 ล้านล้านปีที่ผ่านมา เริ่มต้นก่อกำเนิดจากองค์ประกอบสำคัญ คือ ไฮโดรเจน 71% และฮีเลียม 27% ส่วนอีก 2% เป็นธาตุอื่นๆ เช่น ออกซิเจน, คาร์บอน, ไนโตรเจน, ซิลิคอนและแมกนีเซียม เป็นต้น

ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 1.392 x 106 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกของเราถึง 109 เท่า และมีปริมาตรเป็น 1.41 x 1018 ลูกบาศก์กิโลเมตร ใหญ่กว่าโลกของเรามากมายหลายเท่าทีเดียว (1.3 ล้านเท่า) ดวงอาทิตย์อยู่ห่างไกลจากโลกมาก ประมาณ 1.496 x 108 กิโลเมตร เราทบทวนถึงความรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์กันพอสังเขปแล้ว เพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะขออธิบายถึง "โครงสร้างของดวงอาทิตย์" ต่อไป

หากนับจากด้านในสุดของดวงอาทิตย์ออกมา จะสามารถแบ่งโครงสร้างของดวงอาทิตย์ออกเป็นชั้นต่างๆ ได้ดังนี้ ใจกลางดวงอาทิตย์ (Solar core) บริเวณนี้มีขนาดประมาณ 25% ของรัศมีดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงถึง 10,000,000-20,000,0001 เคลวิน2 ชั้นถัดออกมา คือ โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) เป็นส่วนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่เราสามารถมองเห็นเป็นแสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์ ที่ชั้นนี้มีอุณหภูมิเกือบ 6,00011 เคลวิน ลำดับต่อไปเป็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งแบ่งเป็น โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นบรรยากาศชั้นกลางของดวงอาทิตย์ ที่เราเห็นเป็นแสงสีแดงตามขอบของดวงอาทิตย์เมื่อเวลาเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อุณหภูมิที่ชั้นนี้อยู่ระหว่าง 6,000-1,800,0001 เคลวิน และคอโรนา (Corona) เป็นบรรยากาศชั้นบนสุดของดวงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้เป็นแสงสีขาว โดยจะเห็นได้เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น ชั้นนี้มีอุณหภูมิสูงกว่า 1,000,0001 เคลวิน

กุญแจสำคัญของการเกิดพลังงานมากมายเหลือคณาของดวงอาทิตย์มาจากอุณหภูมิที่สูงมากภายในดวงอาทิตย์ นั่นหมายถึง พลังงานได้เกิดขึ้นบริเวณใจกลางดวงอาทิตย์ และกระบวนการที่ทำให้เกิดพลังงานปล่อยออกมาสู่ภายนอกให้สิ่งมีชีวิตบนโลกได้ใช้อย่างเพียงพอ เรียกว่า Nuclear fusion reaction3 หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น

ไฮโดรเจนได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากๆ จนเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจนที่ร้อนจัด ทำให้อิเล็กตรอน (ประจุลบ) แยกออกจากนิวคลิไอ (อิออนมีประจุบวก) โดยทั่วไป การรวมตัวของนิวคลิไอจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะนิวคลิไอ 2 ตัว มีประจุเหมือนกันจะเกิดการผลักกัน แต่ด้วยอุณหภูมิสูงมาก ทำให้นิวคลิไอเคลื่อนที่เร็วขึ้นและชนกันที่ความเร็วสูงพอที่จะหักล้างแรงผลักได้ นิวคลิไอจึงสามารถหลอมรวมเข้ากันได้ และปล่อยพลังงานออกมา

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นภายในดวงอาทิตย์ประกอบไปด้วย อะตอมของไฮโดรเจน ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ดิวเทียเรียม (2H) และทริเทียม (3H) รวมตัวกันเกิดเป็นฮีเลียม (4He) 4 อะตอม, นิวตรอน (n) 1 อะตอม และพลังงานจำนวนหนึ่ง
[2H + 3H g 4He + n + Energy] ซึ่งพลังงานที่ปล่อยออกมามีความสัมพันธ์กับสมการมวล-พลังงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Einstein's mass-energy equation)

E = mc2

โดย E หมายถึง จำนวนพลังงานซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากมวลสาร (หน่วยเป็น จูล), m หมายถึง มวลสาร (หน่วยเป็น กิโลกรัม) และ c หมายถึง ความเร็วแสง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 x 108 เมตรต่อวินาที

พลังงานภายในดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ประมาณ 386 ล้านล้านเมกะวัตต์ เท่ากับว่า ทุกๆ วินาทีที่ส่วนลึกที่สุดของดวงอาทิตย์ ไฮโดรเจน 700 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียม 695 ล้านตัน ผลต่างของมวลทั้งสองทำให้ทราบได้ว่า มีมวลหายไปในกระบวนการถึง 5 ล้านตัน ซึ่งก็คือพลังงาน พลังงานเกิดขึ้นที่ใจกลางดวงอาทิตย์ ถ่ายทอดโดยการแผ่รังสีออกสู่ภายนอกผ่านชั้นแผ่รังสี (Radiation zone) และเปลี่ยนเป็นถ่ายเทความร้อนเมื่อเข้าใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์ที่บริเวณชั้นพาพลังงาน (Convection zone) แต่กว่าพลังงานที่เกิด ณ ใจกลางดวงอาทิตย์จะเดินทางออกสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ได้ ต้องใช้เวลาถึง 1 ล้านปี หลังจากนั้นกลายเป็นพลังงานความร้อน แสงสว่าง และรังสีอื่นๆ พุ่งออกมา และส่งมาถึงโลกของเราในเวลา 8 นาทีต่อมา

นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณจากอัตราการเผาไหม้กับปริมาณไฮโดรเจนและฮีเลียมที่มีอยู่ในดวงอาทิตย์พบว่า ดวงอาทิตย์มีอายุถึง 4.6 ล้านล้านปี และใช้ไฮโดรเจนไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง ดังนั้น ไฮโดรเจนที่เหลืออยู่จะสามารถเผาไหม้และเกิดเป็นพลังงานได้อีกนานถึง 5 ล้านล้านปีทีเดียว หรือจนกว่าไฮโดรเจนจะหมดไปจากดวงอาทิตย์

จะเห็นได้ว่า พลังงานถูกปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องจากดวงอาทิตย์ และจะยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายชั่วอายุคน... แม้จะเป็นพลังงานเพียงส่วนเล็กน้อยจากดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก แต่ทว่ากลับกลายเป็นค่ามหาศาล แหล่งพลังงานทั้งหลายที่สิ่งมีชีวิตบนโลกนำมาใช้ ล้วนมาจากดวงอาทิตย์เกือบทั้งสิ้น สิ่งที่น่าสนใจที่จะนำเสนอในตอนต่อไป คือ พลังงานจากดวงอาทิตย์มายังโลกได้อย่างไร และเกิดเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานอะไรบ้าง

1 ที่มา: www.encyclopedia.com และ Wikipedia encyclopedia
2 เคลวิน หรือ K เป็นหน่วยวัดความร้อนและสี มีจุดน้ำแข็งที่ 273 K (= 0°C = 32°F) และมีจุดน้ำเดือดที่ 327 K (= 100°C = 212°F)
3 Nuclear fusion reaction เป็นกระบวนการที่นิวคลิไอ (nuclei) ขนาดเล็ก (จำนวนมากกว่า 1 นิวเคลียส) รวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสขนาดใหญ่ขึ้น และมีการปล่อยพลังงานออกมา ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยอุณหภูมิสูงมากๆ