สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ต้องรู้ว่าระบบที่ถูกออกแบบขึ้นในตอนแรกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนเท่าใด
ก็ควรใช้พอดีกับขนาดของระบบ เพราะปัญหาของผู้ใช้งานก็คือ
การเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือใช้เป็นเวลานานเกินกว่าที่ระบบออกแบบไว้
ซึ่งทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น ถ้าต้องการเพิ่มขนาดหรือจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้า
จะต้องเพิ่มส่วนประกอบระบบให้เหมาะสมด้วย เช่น เพิ่มแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ให้ใหญ่ขึ้น
ฯลฯ
|
|
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์
มีทั้งแบบธรรมดาที่ใช้ทั่วไปและออกแบบเป็นพิเศษสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์
การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์นั้น
จะทำให้ระบบทำงานอย่างถูกต้อง ซึ่งการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบธรรมดา
ควรเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าคุณภาพดีที่ใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุดและอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบระบบเพิ่มขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้
จะเป็นการดีถ้าเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะ
|
หลอดไฟฟ้า
การใช้งานทั่วไปมักเป็นหลอดไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งไม่ต้องเดินสายไฟยาว,
ใช้สายไฟขนาดเล็กได้และไม่ต้องใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าที่ใช้มากที่สุดมีอยู่
2 ประเภทหลักๆ คือ
|
- หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent bulb)
ให้กำเนิดแสงโดยการเผาไส้หลอดให้ร้อนและเปล่งแสง เมื่อเปิดใช้งานจะให้แสงสว่างทันที
มีราคาถูกแต่ใช้ไฟฟ้ามากและเกิดความร้อนสูง ที่ใช้ทั่วไป คือ
หลอดอินแคนเดสเซนต์ธรรมดา (Standard incandescent bulb)
หรือหลอดไส้ และหลอดทังสเตน-ฮาโลเจน (Tungsten-Halogen
bulb) ที่พัฒนาขึ้นโดยเติมก๊าซฮาโลเจนเพื่อไม่ให้หลอดดำและยืดอายุการใช้งาน
|
ห้ามใช้หลอดไส้กับระบบเซลล์
แสงอาทิตย์เป็นอันขาด
|
- หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent bulb)
เป็นประเภทหนึ่งของหลอดก๊าซดีสชาร์จ (Gas discharge lamp)
ที่ให้กำเนิดแสงโดยการกระตุ้นอะตอมของก๊าซ จะให้แสงสว่างมากและเป็นแบบกระจาย
(มากกว่าหลอดไส้ 2 เท่าเมื่อใช้ไฟฟ้าเท่ากัน) อายุการใช้งานยาวนาน
มีทั้งแบบหลอดตรง, หลอดวงกลมและหลอดประหยัดไฟ (Compact fluorescent
bulb)
สำหรับหลอดไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
ที่แรงดันไฟฟ้าเท่ากับจากแบตเตอรี่ เพราะขั้ว + และ - ของหลอดไฟฟ้าจะต้องต่อเข้ากับสายไฟที่ขั้ว
+ และ - ของแบตเตอรี่นั่นเอง
|
หลอดฟลูออเรสเซนต์
แบบประหยัดพลังงานสามารถใช้
กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ได้
|
ตู้เย็นและตู้แช่
- ตู้เย็นธรรมดาที่ใช้ทั่วไปจะใช้ไฟฟ้ามากอยู่แล้ว
ดังนั้นควรเลือกตู้เย็นขนาดเล็กแต่คุณภาพสูงที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ
และมีการติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ด้วย
เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับตู้เย็นที่ออกแบบสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์
จะใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ไม่ต้องติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าตู้เย็นธรรมดา
แต่ไม่ค่อยพบเห็นตู้เย็นที่ถูกออกแบบพิเศษนี้ใช้งานตามบ้านทั่วไป
มักใช้ตามศูนย์อนามัยที่ห่างไกลซึ่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อเก็บยารักษาโรคและวัคซีนต่างๆ
โดยระบบตู้เย็นพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์,
เครื่องควบคุมการประจุ, แบตเตอรี่และตู้เย็น DC 12 หรือ 24
โวลต์
|
- ตู้แช่ คือ ตู้เย็นที่ตั้งอุณหภูมิต่ำจนทำให้น้ำเป็นน้ำแข็ง
ใช้แช่แข็งอาหารหรือน้ำ แต่เชื่อไหมว่าตู้แช่ใช้ไฟฟ้ามากกว่าตู้เย็นธรรมดาถึง
2 เท่า เพราะต้องใช้ไฟฟ้าในการทำให้อุณหภูมิในตู้ต่ำ ตู้แช่ที่ออกแบบสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ก็ไม่ต้องติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าตู้เย็นธรรมดาเช่นเดียวกับตู้เย็นพลังงานแสงอาทิตย์
|
|
อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
- เครื่องเล่นวีดีโอ, โทรทัศน์, เครื่องเสียงและวิทยุ
อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้แม้จะใช้ไฟฟ้าน้อย แต่ก็ไม่สามารถใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยตรง
ต้องมีการติดตั้งเครื่องแปลงกระ แสไฟฟ้าเพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันสูงตามที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องการ
โดยเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าต้องมีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
รวมถึงควรมีสวิตช์ตัดการจ่ายไฟฟ้าที่ไปยังอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อไม่ใช้งานแล้ว
สำหรับอุปกรณ์ดังกล่าวมักไม่ค่อยมีการผลิตขึ้นเป็นพิเศษสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์
|
|
- คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(PC) สามารถใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ได้ โดยมีเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าด้วย
แต่คอมพิวเตอร์แล็ปทอป (Laptop) และโน้ตบุ๊ค (Notebook)
ที่มีแบตเตอรี่ภายใน ไม่อาจนำมาใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ได้
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ใช้ไม่ได้กับระบบที่ติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภท
Modified sine wave ส่วนเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต (Inkjet
printer) และเครื่องพิมพ์ด็อตเมตริกซ์ (Dot matrix printer)
ใช้กับระบบที่ติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภท Modified
sine wave ได้ ไม่พบปัญหาใดๆ
|
- เครื่องซักผ้า, เครื่องมือ-เครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงานและเครื่องสูบน้ำ
ฯลฯ สามารถนำมาใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ได้ แต่ต้องเลือกเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่คุณภาพสูง
(ให้สัญญาณไฟฟ้าขาออกเป็น Pure sine wave) และขนาดใหญ่มาก
(2000 W ขึ้นไป) เมื่อมีการใช้งานไปเรื่อยๆ จะทำให้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าอุ่นและร้อนขึ้น
มีผลให้อายุการใช้งานสั้นลง รวมถึงเครื่องดูดฝุ่น, สว่านไฟฟ้าและพัดลม
ก็ใช้ได้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์พร้อมเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่
(1000 W ขึ้นไป) เพราะมอเตอร์มีไฟกระชากไม่มากนัก ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเครื่องซักผ้า,
เครื่องสูบน้ำหรือพัดลมมีการผลิตขึ้นมาสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะแล้ว
|
|
- อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น เตารีด, เครื่องปิ้งขนมปังและเครื่องเป่าผม
ใช้ไฟฟ้ามาก แต่เนื่องจากไม่ใช้งานบ่อยครั้งและใช้เพียงเวลาสั้นๆ
ดังนั้น ใช้ได้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์,
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและแบตเตอรี่ด้วยขนาดใหญ่เพียงพอ
|
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ควรใช้ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ เช่น
เครื่องปรับอากาศ, เครื่องครัวไฟฟ้า, เครื่องทำความร้อน-น้ำร้อน,
เตาหลอดโลหะและเตารีดไอน้ำ ฯลฯ ควรใช้พลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นจะเหมาะสมกว่า
เช่น ก๊าซธรรมชาติ เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ใช้ไฟฟ้ามากจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมของระบบเซลล์แสงอาทิตย์สูงโดยไม่คุ้มค่าอุปกรณ์ประกอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ก็ว่ากันไปครบถ้วนแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจยังมีอีกมากมายใน "เส้นทางสู่พลังงานสีเขียว"
ซึ่งครั้งหน้าเราจะพาคุณไปเรียนรู้กลเม็ดเคล็ด
(ไม่) ลับกับการเลือกใช้สายไฟสำหรับใช้ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์
ห้ามพลาดโอกาสดีๆ แบบนี้ทีเดียว
|
ที่มาของข้อมูล: PV Solar
Photovoltaic Technical Training Manual, Mr. Herbert Wade
ที่มาของภาพ: www.absak.com, Leonics
|