เรื่องของพลังงาน
คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ UPS

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของ UPS มากยิ่งขึ้น ผู้อ่านควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ UPS เช่น คำศัพท์ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีของ UPS ดังนี้

  1. VA (วีเอ) เป็นหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear Load) ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว จะใช้งานที่แรงดันไฟฟ้า 220 V และใช้กระแสไฟฟ้า 1.5 A ดังนั้น จะมีขนาดกำลังเป็น 220 x 1.5 = 330 VA

  2. โหลด (Load) หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงอยู่กับ UPS

  3.  Power Watcher เป็นระบบตรวจสอบระดับการใช้พลังงานของโหลดตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อใดที่เกิดปัญหาทางไฟฟ้าขึ้น UPS จะสามารถทำการสำรองพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดทั้งหมดที่ต่ออยู่ในขณะนั้นได้อย่างเพียงพอ และจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถต่อโหลดเพิ่มได้มากเท่าที่ต้องการ จนกว่าเครื่องจะเตือนว่าถูกใช้งานจนเกินกำลัง (Overload)

  4.  Battery Watcher (Battery Replacement Indicator) เป็นระบบตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่ ซึ่งจะทำการเตือนให้ผู้ใช้งานทราบเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่

  5.  Digital/Microprocessor Control (Digital UPS) เป็น UPS ซึ่งใช้ Microprocessor ในการควบคุมการทำงานจึงมีข้อดี คือสามารถป้องกันปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่า UPS ทั่วไป แต่หากเทคโนโลยีของการออกแบบไม่ดีพอ หรือใช้ Microprocessor คุณภาพต่ำ จะทำให้การทำงานของ UPS ประเภทนี้ขาดเสถียรภาพ (Unstable) และเครื่องหยุดทำงาน (Hang) ได้บ่อย
    หมายเหตุ: LEONICS ULTRA Series, ULTRA SINE Series และ Ultimate-X ใช้ Advance LEONICS's Microprocessor ซึ่งผลิตออกมาเป็นพิเศษเพื่อลีโอนิคส์โดยเฉพาะ ในการควบคุมการทำงานจึงทำให้สามารถป้องกันปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีเสถียรภาพสูง

  6.  Fast Charging เป็นระบบการประจุไฟฟ้า (Charge) ลงในแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถประจุแบตเตอรี่เต็มได้เร็วขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบ UPS จะต้องมีความเชี่ยวชาญและใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการควบคุมการทำงานของระบบประจุไฟฟ้าเท่านั้น จึงจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เกิดความบอบช้ำหรือเสียหาย
    หมายเหตุ: LEONICS ULTRA Series และ ULTRA SINE Series ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และใช้ระบบ 3 Stage Charger (Bulk - Boost - Float) จึงสามารถทำการประจุแบตเตอรี่เต็มได้เร็วขึ้น โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เสียหาย และยังสามารถป้องกันการจ่ายกระแสไฟฟ้า (Discharge) ออกจากแบตเตอรี่ด้วยระบบการประจุแบตเตอรี่ให้เต็มอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย จึงสามารถมั่นใจได้ว่าพลังงานไฟฟ้าสำรองของ UPS จะอยู่ในภาวะที่พร้อมและเพียงพอที่จะถูกนำมาใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา

  7.  Intelligent Battery Management: IBM เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการบริหารแบตเตอรี่ทั้งในภาวะประจุและจ่ายกระแสไฟฟ้า (Charge and Discharge) ทำให้สามารถสำรองพลังงานไฟฟ้าได้นานขึ้น และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่อีกด้วย
    หมายเหตุ: LEONICS ULTRA Series และ ULTRA SINE Series มีระบบนี้

  8. Backup Time/Runtime เป็นระยะเวลาที่ UPS สามารถทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าทดแทนให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟฟ้า ได้ เช่น ไฟบ้านดับ โดยมีหน่วยเป็นนาที ซึ่งการคำนวณ Backup Time จะนับจากเวลาที่ไฟดับจนถึงเวลาที่ UPS ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จนหมด

  9. LAN I/F หรือ Communication Port เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณหรือข้อมูลระหว่าง UPS และคอมพิวเตอร์

  10.  Schedule Shutdown, Restart and Self-Testing เป็นคุณสมบัติของ UPS ชนิดที่มีพอร์ตสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และจำเป็นต้องใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานของ UPS หรือ UPS Monitoring and Managing Software เท่านั้น (ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานร่วมกับ LEONICS UPS คือ Easy-Mon X) ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปของ UPS เมื่อใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ เหล่านี้ คือ สามารถตั้งเวลาที่จะทำการ Shutdown หรือ Restart คอมพิวเตอร์ และ UPS ได้ สำหรับคุณสมบัติของ LEONICS UPS เมื่อใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ Easy-Mon มีดังนี้
    • แสดงสถานะการทำงานของ UPS และสถานะของไฟฟ้าที่จ่ายจากระบบจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
    • ตั้งเวลา Shutdown หรือ Restart คอมพิวเตอร์ และ UPS (Option)
    • ตั้งเวลาทดสอบ UPS (Option)
    • บันทึกข้อมูลผลของ Self Testing และปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น (Option)
    • ส่งข้อมูลผลของ Self Testing และปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปยังเครื่องแฟกซ์ (Option)
    • บันทึกไฟล์งานข้อมูลอัตโนมัติก่อน Shutdown คอมพิวเตอร์

    คุณสมบัติเมื่อใช้งานร่วมกับ Plug-In ของซอฟต์แวร์ Easy-Mon X มีดังนี้
    • รายงานสถานะทางไฟฟ้าและข้อมูลทางไฟฟ้า
    • สามารถตรวจสอบสถานะทางไฟฟ้าต่างๆ ทั้งแบบกราฟิกและตัวเลข
    • ตั้งเวลาเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์และ UPS ล่วงหน้า (Schedule Shutdown and Restart)
    • ตั้งตารางเวลาการทดสอบ UPS ล่วงหน้า (Schedule Self-Test)
    • เก็บบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น และยังสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ (Event Log and Data Log)
    • สามารถเลือกสั่งให้ทำการบันทึกไฟล์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ และยังสามารถเลือกวิธีปิดคอมพิวเตอร์ได้ถึง 3 แบบ คือ Normal Shutdown, Force Shutdown และ Hibernate Shutdown
    • สามารถทำงานบนระบบเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Windows 95/98/ME, Windows NT/2000/XP, Linux (Redhat 7.0, 7.1, 7.2/ Mandrake 8.0, 8.1, 8.2) และ UNIX (HP, Sun Solaris))

  11. AC Start System เป็นระบบ UPS ที่จะสามารถเปิดเครื่องให้ทำงานได้โดยต้องเสียบปลั๊ก Input ของ UPS เข้ากับไฟบ้านเสียก่อน โดยเครื่องจะ Start ได้ก็ต่อเมื่อมีแรงดันไฟฟ้า 220 Volt จ่ายเข้าสู่ตัวเครื่องเท่านั้น

  12. DC Start System เป็นระบบ UPS ที่จะสามารถเปิดเครื่องให้ทำงานได้โดยไม่ต้องต่อเข้ากับไฟบ้านก่อน เพราะ UPS จะทำการดึงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่มาใช้ในการทำงานได้โดยทันที

  13. No Load Shut Down เป็นคุณสมบัติหนึ่งของ UPS ซึ่งจะหยุดทำงานเองเมื่อพบว่าไฟดับ ในขณะที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ไม่ได้ถูกใช้งาน ซึ่งจะเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ เพื่อสำรองไว้ใช้ในเวลาจำเป็นจริงๆ เท่านั้น แต่มีข้อเสีย คือ กรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ใช้กระแสไฟน้อยมาก UPS ก็จะหยุดการทำงานไปเลย ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ขาดกระแสไฟฟ้ากะทันหัน และอาจเกิดความเสียหายได้ (ใน LEONICS Line Interactive UPS with stabilizer ทุกรุ่นมีคุณสมบัตินี้อยู่ และที่ดีกว่านั้นก็คือ ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้คุณสมบัตินี้ทำงานหรือไม่ โดยเลือกจากสวิตช์ด้านหลังเครื่องเท่านั้น)

  14. Low Battery Shut Down (Automatic Shut Down) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของ UPS โดยทั่วไปมักจะมีอยู่ในทุกเครื่อง โดย UPS จะหยุดทำงานเมื่อตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานจนแบตเตอรี่มีแรงดันต่ำจนอาจเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่เอง ซึ่งระบบนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (LEONICS UPS มีคุณสมบัตินี้อยู่ทุกรุ่น)

  15. Auto - Charging System เป็นระบบการประจุ (Charge) แบตเตอรี่อัตโนมัติ โดยเสียบสาย Input แต่ไม่ต้องเปิดสวิตช์ ซึ่ง UPS ระบบนี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลาที่มีการเสียบปลั๊กต่อกับไฟบ้าน ไม่ว่าจะเปิดสวิตช์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นหากเทคโนโลยีที่ใช้ในการควบคุมระบบประจุแบตเตอรี่ไม่ดีพอ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้ เช่น กรณีผู้ใช้งานลืมถอดปลั๊กไฟหลังจากเลิกใช้งาน เนื่องจาก UPS ไม่มีการเตือนใดๆ ว่า กำลังทำงานอยู่ (LEONICS ULTRA Series UPS มีระบบ Auto - Charging ที่ควบคุมการทำงานโดย IBM : Intelligent Battery Management ซึ่งเป็นระบบบริหารแบตเตอรี่ที่ชาญฉลาดที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงสามารถไว้วางใจได้ในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน)

  16. Magnetic Breaker เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แต่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง เพราะตั้งค่าการทำงานใหม่ได้ (Reset) ข้อดี คือ ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ฯ เหมือนฟิวส์ แต่ในขณะเดียวกัน Magnetic Breaker ที่ใช้ต้องมีคุณภาพที่ดี มีมาตรฐานสูง ไม่เช่นนั้นอาจเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้

  17. Automatic Voltage Regulator (AVR หรือ Stabilizer) เป็นอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีค่าคงที่ในระดับหนึ่ง ซึ่งโดยปกติ AVR ใน UPS จะปรับแรงดันไฟฟ้าของไฟบ้านให้อยู่ในระดับประมาณ 220 Volt

  18.  Surge Protection for Telephone Line เป็นระบบป้องกันแรงดันสูงชั่วขณะหรือ Surge Protection ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่เข้ามาสู่แฟกซ์หรือโมเด็มทางสายโทรศัพท์ และเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของแฟกซ์หรือโมเด็มอีกด้วย

  19.  Surge LAN Line เป็นระบบป้องกันแรงดันสูงชั่วขณะหรือ Surge Protection ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่เข้ามาสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN)

  20. Restart Voltage Checking System (RVCS) เป็นระบบป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (เช่น คอมพิวเตอร์) จากการเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากเกิดเหตุการณ์ไฟดับ โดยหลังจาก UPS ได้ทำการจ่ายพลังงานสำรองจากแบตเตอรี่จนหมด และปิดตัวเองแล้ว เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาใหม่ UPS จะทำการตรวจสอบสภาพไฟฟ้าว่า มีคุณภาพดีเพียงพอต่อการใช้งานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (เช่น คอมพิวเตอร์) หรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มงานและจ่ายไฟฟ้าอีกครั้ง

  21.  Hot Swappable Battery (Hot Swap) เป็นการออกแบบ UPS ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองโดยไม่ต้องหยุดการใช้งานของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และ UPS ซึ่ง UPS ที่มีคุณสมบัตินี้ จำเป็นต้องได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยเท่านั้น จึงจะสามารถแน่ใจได้ว่า ผู้ใช้งานจะมีความปลอดภัยในการเปลี่ยนแบตเตอรี่

  22.  Advance Load Outlet Management (ALOM) ระบบการบริหารและจัดการการจ่ายพลังงานสำรองอัจฉริยะ ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารการจ่ายพลังงานสำรองให้เหมาะสมตามความสำคัญของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับ UPS โดยจะแบ่งการจ่ายไฟเป็น Main Channel สำหรับอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเชื่อมต่อหรือบันทึกข้อมูล เช่น Computer, Server และ Intelligent Channel สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่ใช้งาน เช่น Printer และ Scanner (โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการทำงานผ่าน Easy Mon Software)

  23.  High Rate Battery เป็นการออกแบบ UPS ที่ทำให้เพิ่มเวลา Backup Time/Runtime ออกไปได้ถึง 25% ทำให้สามารถสำรองพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลามากขึ้นในการบันทึกข้อมูลและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามขั้นตอนอย่างปลอดภัย