โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์
โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงาน ครั้งที่ 2 |
|
|
|
|
|
|
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการใช้พลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากยิ่งขึ้น
การนำเอาพลังงานจากธรรมชาติมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานต่างๆ
ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการขาดแคลนพลังงานรวมถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
โดยพลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
(Solar Cell) เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาด บริสุทธิ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด ในฐานะที่บริษัททำการวิจัยพัฒนาและผลิตเครื่องสำรองไฟฟ้า
(UPS) และอุปกรณ์เพาเวอร์อิเลคทรอนิคส์ รวมถึงอุปกรณ์พลังงานทดแทนได้ตระหนักถึงโอกาสในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ในเรื่องการนำเอาพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
กอปรกับลีโอนิคส์มีปณิธานที่จะส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน
ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ "Solar
Innovative Contest 2" ขึ้น เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้มาศึกษาและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง
และก่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์
อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต
|
|
|
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนให้เยาวชนไทยหันมาสนใจการนำพลังงานจากธรรมชาติ
เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง
- เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและค้นคว้า ในการนำเอาพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ต่อไปในอนาคต
- เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้แสดงออกถึงความรู้
ความสามารถ ในการพัฒนาความคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยรู้จักการใช้เวลาว่างในการสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิดในทางที่ดี
อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง, สังคม และประเทศชาติต่อไป
|
|
กฎและกติกา
- ประเภทการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ประเภท
- นักเรียน (ไม่เกินมัธยมศึกษาปีที่ 6)
- นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบุคคลทั่วไป
- ผู้สมัครส่งผลงานได้ไม่เกิน 1 ชิ้นงาน โดยผู้สมัครทุกท่านจะต้องส่งใบสมัครแข่งขันพร้อมจัดทำใบนำเสนอโครงการเกี่ยวกับชิ้นงานที่จะประดิษฐ์
ภายใต้คอนเซ็ปต์การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลักในการทำงานของชิ้นงาน
โดยใบนำเสนอโครงการจะต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนตรงตามที่กำหนด
ดังนี้
- ชื่อ-สกุล, ที่อยู่ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก,
E-Mail และประเภทที่ลงสมัครแข่งขัน
- ชื่อชิ้นงาน
- แนวคิดในการประดิษฐ์ชิ้นงาน
- หลักการทำงาน/ วิธีการประดิษฐ์ (อธิบายอย่างละเอียด)
- ประโยชน์ในการใช้งาน
- อุปกรณ์ที่ใช้/ ค่าใช้จ่าย
- ภาพสเกตซ์ของชิ้นงานที่จะประดิษฐ์์
จัดส่งมาที่
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด
119/50-51 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา
กทม. 10260
โทร. 0-2746-9500 หรือ FAX: 0-2746-8712 E-Mail:
ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2546
|
* |
บริษัทฯ จะทำการคัดเลือกผู้สมัครในรอบแรก 50 รายจากการพิจารณาใบนำเสนอโครงการ
(ซึงจะประกาศผลในวันที่ 11 สิงหาคม 2546) โดยบริษัทฯ
จะให้การสนับสนุนแผงโซลาร์เซลล์เพื่อนำไปใช้ในการประดิษฐ์ผลงานส่งเข้าประกวด
ขนาด 0.5 Volt Isc (Max) 380 mA จำนวน 6 ชิ้น/โครงงาน
(บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกว่าผู้ใดจะได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการโดยการสนับสนุนแผงโซลาร์เซลล์) |
* |
ผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกรอบ 50 ราย ยังคงส่งผลงานเข้าประกวดได้
แต่ต้องจัดหาแผงโซลาร์เซลล์มาเอง |
* |
สนใจขอรับใบลงทะเบียนหรือแบบฟอร์มใบสมัครได้ที่ บริษัท
ลีโอนิคส์ จำกัด, ร้าน AR 4U, IT CITY, ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์
(BCC) และร้านหนังสือซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ ทุกสาขา |
|
|
|
|
คณาจารย์ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินและคัดเลือกใบนำเสนอโครงงาน
Solar Innovative Contest 2
รศ. วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร |
ผอ.ศูนย์วิจัยและอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ ม.นเรศวร |
รศ. ดร.ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์ |
ผอ.สถาบันวิศวกรรมพลังงาน ม.เกษตร |
ดร. สมชัย หิรัญวโรดม |
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลองหก) |
อ. สุทัศน์ ปฐมนุพงศ์ |
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
ดร. ขวัญฤดี โชติธนาทวีวงศ์ |
ผอ.ฝ่ายพลังงานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย |
อ. ธวัชชัย สุวรรณคำ |
นักวิจัยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
อ. ทรงฤทธิ์ ศิริวัฒนะ |
นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ |
อ. บุญมี พุทโพธิ์
|
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ดร. ทรงพล กาญจนชูชัย |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ดร. ธีรธรรม บุญยะกุล
|
ภาคไฟฟ้าวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
อ. ขรรค์ชัย ตุลละสกุล |
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
|
|
|
include $_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]."/html/th/news/special_act/sic2/sic2_sponsor.php"; ?>
|
|
|
|
|