|
include $_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]."/html/th/news/special_act/sic3/sic3_menu.php"; ?>
|
|
|
|
|
|
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนให้เยาวชนไทยหันมาสนใจในการนำพลังงานจากธรรมชาติ
เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง
- เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการวิจัย ค้นคว้า ในการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ต่อไปในอนาคต
- เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ได้แสดงออกถึงความรู้
ความสามารถในการพัฒนาความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยรู้จักการใช้เวลาว่างในการสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิดในทางที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
สังคม และประเทศชาติต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
|
|
|
|
|
|
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการใช้พลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากยิ่งขึ้น
การนำพลังงานจากธรรมชาติมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานต่างๆ
ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหาวิกฤติการขาดแคลนพลังงาน
รวมถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยพลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
(Solar Cell) เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาด บริสุทธิ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด ในฐานะบริษัทที่ทำการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์เพาเวอร์อิเลคทรอนิคส์ด้านพลังงานทดแทน
ได้ตระหนักถึงโอกาสในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
กอปรกับลีโอนิคส์มีปณิธานที่จะส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน
ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงาน
หรือ Solar Innovative Contest ขึ้น เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
และก่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์
อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต
รูปแบบโครงการ
โครงการ Solar Innovative Contest 3 เป็นโครงการแข่งขันประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้จริง
ภายใต้แนวความคิดการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานในการทำงาน
โดยมีแผงโซลาร์เซลล์เป็นวัตถุดิบหลักในการประดิษฐ์ ซึ่งทางโครงการฯ
จะมอบให้กับผู้สมัครแข่งขันที่ผ่านรอบการคัดเลือก 40 โครงงาน
จากการพิจารณาและคัดเลือกจากใบนำเสนอโครงงาน (Proposal)
|
|
|
|
|
|
ผู้ดำเนินงาน
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด
119/50-51 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ
10260
โทรศัพท์ 0-2746-9500, 0-2746-8708 ต่อ 171-175 โทรสาร 0-2746-8712
อีเมล์:
เว็บไซต์ www.leonics.co.th
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ก.พ. - 14 ก.ค. 2548
|
รับสมัคร |
16 ก.ค. 2548 |
คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 2 ประเภทรวม 40 โครงงาน
จากใบนำเสนอโครงงาน |
19 ก.ค. 2548 |
ประชุมชี้แจงและแจกแผงโซลาร์เซลล์ให้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือก |
17 ส.ค. 2548 |
ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
(ท้องฟ้าจำลอง) |
19-20 ส.ค. 2548 |
ผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกประเภททั่วไป - นักเรียน นำเสนอผลงาน
จำนวน 15 โครงงาน
ผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกประเภททั่วไป - นักศึกษา/บุคคลทั่วไป
นำเสนอผลงาน จำนวน 15 โครงงาน
ผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกประเภท Professional นำเสนอผลงาน
จำนวน 10 โครงงาน |
24 ส.ค. 2548 |
ประกาศผลพร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภทในงาน
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
(ท้องฟ้าจำลอง) |
|
|
|
|
|
|
กฎกติกาสำหรับผู้ร่วมแข่งขัน
- ประเภทการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ประเภท
- ประเภททั่วไป แบ่งเป็น 2 ระดับ
1.1
ระดับนักเรียน (ไม่เกินมัธยมศึกษาปีที่ 6)
1.2
ระดับนักศึกษา/บุคคลทั่วไป
- ประเภท Professional
- ผู้สมัครสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ไม่เกิน 1 ชิ้นงาน โดยผู้สมัครจะต้องส่งใบลงทะเบียนพร้อมจัดทำใบนำเสนอโครงงานของชิ้นงานที่จะประดิษฐ์ขึ้น
ภายใต้แนวความคิดการใช้แผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานหลักในการทำงานของชิ้นงาน
- ใบนำเสนอโครงงานจะต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนตรงตามที่กำหนด
ดังนี้
- ชื่อ-สกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อ และอีเมล์
(ระบุประเภทที่สมัคร สำหรับประเภททั่วไปต้องระบุระดับการแข่งขันด้วย)
- ชื่อชิ้นงาน
- แนวความคิดในการประดิษฐ์
- หลักการทำงาน/วิธีการประดิษฐ์
(อธิบายโดยละเอียด)
* สำหรับผู้ที่สมัครประเภท Professional จะต้องระบุรายละเอียดเพิ่มเติมดังข้อ
4.1-4.3
4.1 เขียนบล็อกไดอะแกรมการทำงานโดยละเอียด
4.2 หลักการทำงาน
4.3 วิธีการคำนวณการใช้พลังงานของระบบทั้งหมด
- ประโยชน์ในการใช้งาน
- อุปกรณ์ที่ใช้/ค่าใช้จ่าย
- ภาพสเกตซ์ของชิ้นงานที่จะประดิษฐ์
ส่งมาที่ บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด 119/50-51 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260
โทรศัพท์ 0-2746-9500, 0-2746-8708 ต่อ 171-175 หรือโทรสาร
0-2746-8712
อีเมล์: ภายในวันที่
14 ก.ค. 48
- บริษัทฯ จะทำการคัดเลือกผู้สมัครในรอบแรก 40 โครงงาน จากการพิจารณาใบนำเสนอโครงการ
(ประกาศผลวันที่ 19 ก.ค. 48) โดยผู้ผ่านเข้ารอบ LEONICS
จะให้การสนับสนุนแผงโซลาร์เซลล์เพื่อนำไปใช้ในการประดิษฐ์ผลงานส่งเข้าประกวด
ขนาด 5 W 12 V (nominal), Vpm = 17.64 V, Ipm
= 0.29 A น้ำหนัก 0.8 kg. จำนวน 1 แผง/ 1 โครงงาน มูลค่า 2,500
บาท (บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกว่าโครงงานใดจะได้รับการสนับสนุนแผงโซลาร์เซลล์)
ผู้ผ่านเข้ารอบที่ประสงค์จะใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่กว่าที่บริษัทฯ
จัดหาให้ สามารถแจ้งความประสงค์ขอยืมแผงได้ที่ บริษัท ลีโอนิคส์
จำกัด
- ผู้สมัครที่ไม่ผ่านการคัดเลือกรอบ 40 โครงงาน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้
แต่จะต้องจัดหาแผงโซลาร์เซลล์เอง
- สนใจขอรับใบลงทะเบียนและแบบฟอร์มใบนำเสนอโครงงาน ได้ที่
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด, IT CITY, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
(ท้องฟ้าจำลอง), เซ็นทรัล เพาเวอร์เซ็นเตอร์ หัวหมาก (บิ๊กซี
หัวหมาก), ร้านหนังสือ ซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ และร้าน TPA
Book Center ทุกสาขา
|
|
|
|
|
|
เกณฑ์การให้คะแนน
- ประเภททั่วไป แบ่งเป็น 2 รอบ
- รอบที่ 1 (คัดเลือกจากใบนำเสนอโครงงาน): ความคิดสร้างสรรค์
60% และความน่าจะเป็นในการพัฒนาโครงงาน 40%
- รอบที่ 2 (การนำเสนอ): ความคิดสร้างสรรค์ 50%,
การใช้ประโยชน์ได้จริง 40% และคะแนนโหวตจากประชาชน
10% [จัดแสดงผลงานผู้ผ่านเข้ารอบในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)]
- ประเภท Professional แบ่งเป็น 2 รอบ
- รอบที่ 1 (คัดเลือกจากใบนำเสนอโครงงาน): ความคิดสร้างสรรค์
40% และความน่าจะเป็นในการพัฒนาโครงงาน 60%
- รอบที่ 2 (การนำเสนอโครงงาน): ความคิดสร้างสรรค์
40%, การใช้ประโยชน์ได้จริง 50% และคะแนนโหวตจากประชาชน
10% [จัดแสดงผลงานผู้ผ่านเข้ารอบในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)]
รางวัล
- รางวัลสำหรับประเภททั่วไป ทั้ง 2 ระดับการแข่งขัน
- รางวัลที่ 1 เงินสด 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและรางวัลจากผู้สนับสนุนโครงการฯ
- รางวัลที่ 2 เงินสด 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและรางวัลจากผู้สนับสนุนโครงการฯ
- รางวัลที่ 3 เงินสด 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและรางวัลจากผู้สนับสนุนโครงการฯ
- รางวัลสำหรับประเภท Professional
- รางวัลผู้ชนะเลิศสุดยอดนักประดิษฐ์ เงินสด 30,000 บาท,
LEONICS Inverter พร้อมประกาศนียบัตรและรางวัลจากผู้สนับสนุนโครงการฯ
กิจกรรมพิเศษ
28 พ.ค.
2548 |
9.00 - 12.00 |
สัมมนาเรื่อง "เทคโนโลยีการผลิตแผงโซลาร์เซลล์"
โดย ดร. พอพนธ์ สิชฌนุกฤษฏ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ
โครงการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานและเทคโนโลยีสะอาด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
13.00 - 16.00 |
สัมมนาเรื่อง "เทคโนโลยีการผลิตแผงโซลาร์เซลล์"
โดย ศ.ดร. ดุสิต เครืองาม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
4
มิ.ย. 2548 |
9.00
- 12.00
|
สัมมนาเรื่อง "พลังงานทดแทน
ทางเลือกเพื่ออนาคตของคนไทย"
โดย รศ.ดร. วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและอบรมพลังงานแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
13.00
- 16.00 |
เยี่ยมชมโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ |
11
มิ.ย. 2548 |
9.00
- 12.00
|
สัมมนาเรื่อง "การออกแบบและการประยุกต์ใช้งานของระบบโซลาร์เซลล์"
โดย อาจารย์ธวัชชัย สุวรรณคำ นักวิจัยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
13.00
- 16.00 |
Work shop |
สถานที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
(ท้องฟ้าจำลอง)
สำรองที่นั่ง โทร. 0-2746-9500,
0-2746-8708 ต่อ 171-175
หากไม่อยากพลาดโอกาสพิเศษ... สมัครก่อนวันที่
20 พ.ค. 48 รับจำนวนจำกัด เพียง 100 ที่นั่ง/ การสัมมนา
* บริษัทฯ จะติดต่อกลับไปเพื่อยืนยันการรับสิทธิ์ภายหลังได้รับการแจ้งลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาจากท่าน
* สนใจเข้าร่วมสัมมนาเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อเพื่อขอรับสิทธิ์เป็นกรณีพิเศษ
ท่านที่ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดแล้ว สามารถตรวจสอบรายชื่อและรายละเอียดต่างๆ
ได้ที่ www.leonics.co.th
|
|
|
|
|
|
|
|